การเรียนของนักศึกษาแพทย์ ของ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

  • ชั้นพลีเม็ดดิเคล (ปี 1) เรียนที่คณะวิทยาศาสตร์เป็นหลัก และเรียนทางด้านภาษาที่คณะศิลปศาสตร์
  • ชั้นพรีคลินิก (ปี 2-3) เริ่มใช้ระบบการเรียนแบบใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป โดยใช้หลักการเรียนแบบ Problem-based Learning(PBL) เป็นการเรียนแบบไม่มีการแยกเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์, สรีรวิทยา, หรือพยาธิวิทยาเป็นรายวิชา แต่ใช้การเรียนไปเป็นระบบๆของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายแทน โดยเริ่มในนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 26 เป็นรุ่นแรกของคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย
  • ชั้นคลินิก (ปี 4-5) แยกเรียนเป็น 3 โรงพยาบาลคือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลยะลา และโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (โดยแบ่งตามโควตาที่เข้ามาตั้งแต่ตอนแรกรับ)
    • หากเข้ามาโดยโควตาแพทย์ชนบท(โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม)ต้องเรียนที่โรงพยาบาลหาดใหญ่
    • หากเข้ามาโดยโควต้าแพทย์ 3 จังหวัดต้องเรียนที่โรงพยาบาลยะลา
    • หากเข้ามาโดยวิธีอื่นๆ เรียนที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ทั้งหมด
  • ชั้นเอกซ์เทอร์น (ปี 6)
    • หากเรียนปี 4-5 ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ จะต้องมาฝึกงานเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นเวลา 6 เดือน
    • หากเรียนปี 4-5 ที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ จะต้องเลือกฝึกงานตามโรงพยาบาลจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการสอนนักศึกษาแพทย์ร่วมกัน ได้แก่ โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี, โรงพยาบาลตรัง, โรงพยาบาลสงขลา, โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 6 เดือน และที่เหลืออีก 6 เดือนฝึกงานที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • เมื่อสำเร็จการศึกษารับปริญญาบัตรแพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้งหมด (โดยไม่มีการแบ่งแยกโรงพยาบาล) ก็เป็นอันว่าจบสิ้นในการเรียนระดับปริญญาตรี

ใกล้เคียง